1.หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์เริ่มจากผู้ใช้ทำการกรอกข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล
(Input Devices) ซึ่งข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆที่รับเข้ามาจะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก (Memory) จากนั้นก็จะถูกนำไปประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing) แล้วนำผลที่ได้จากการประมวลผลมาเก็บไว้ในหน่วยความจำแรม พร้อมทั้งแสดงออกทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วย 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ส่วนอุปกรณ์รับข้อมูล ส่วนประมวลผลกลาง หน่วยความจำ และอุปกรณ์แสดงผล
3
ลักษณะ คือ
- ใช้สำหรับผู้เรียน
เพื่อค้นหาความรู้หรือข้อมูลที่สนใจจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์-
ช่วยสอน
และ E-Learning
- ใช้สำหรับผู้สอน
เพื่อเป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน เช่น
การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับ โปรเจคเตอร์เพื่อนำเสนอข้อมูล
- ใช้สำหรับงานด้านการบริหาร
เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา เช่น
การจัดเก็บข้อมูล เกี่ยวกับสถานศึกษาและผู้เรียน การประมวลผลคะแนนของผู้เรียน
บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานด้านการสื่อสาร
ในปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ร่วมกัน
หลาย ๆเครื่องจนเกิดเป็นเครือข่าย โดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดมีพื้นที่ครอบคลุมทั่วโลกเรียกว่า
อินเตอร์เน็ต
ทำให้คอมพิวเตอร์มีความสารถในการทำงานมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถทางด้าน
การติดต่อสื่อสารซึ่งไม่จำกัดเฉพาะข้อมูลที่เป็นข้อความเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบ ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลายในรูปแบบของมัลติมีเดีย เช่น
การดาวน์โหลดข้อมูลต่าง ๆ
บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานด้านการบริหารประเทศ รัฐบาลมีนโยบายที่จะนำ
เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริหารประเทศในด้านต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวก เพิ่มความโปร่งใส และลดปัญหาการคอรัปชันของหน่วยงานทางราชการ
โดยสามารถแบ่งลักษณะของการทำงานเป็นการบริการประชาชน การรับและเผยแพร่ข้อมูลระหว่างประชาชน
กับรัฐบาล
และการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐบาล เช่น การชำระภาษีกับ
กรมสรรพากรผ่านทางเว็บไซต์
3ประโยขน์ของคอมพิวเตอร์1.ประโยชน์ด้านการศึกษา
ใช้เพื่องานด้านการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ เช่นการนำบทเรียน การผลิตสื่อการสอน
การใช้ซีดีรอมสำหรับการเรียนรู้ เกมเพื่อการศึกษาหรือ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.ด้านความบันเทิง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสนุกสนานบันเทิง
เช่น เล่นเกม ฟังเพลงชมภาพยนต3.ด้านการเงิน การธนาคาร
ใช้ในการเบิก - ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การโอนเงินด้วยระบบอัตโนมัติโอนเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การดูข้อมูลตลาดหุ้นการทำกราฟแสดงยอดขาย
ด้านการสื่อสารและคมนาคม
ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต สื่อสาร
ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์
การคมนาคมทางเรือ เครื่องบิน
และรถไฟฟ้า
ด้านศิลปะและการออกแบบ
เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนออกแบบ
งานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์
ด้านการแพทย์์
ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการแพทย์หลายด้าน
เช่น การเก็บประวัติคนไข้
การใช้ทดลองประกอบการวินิจฉันของแพทย์ใช้ในการตรวจ
เลือก ตรวจปัสสาวะ การผ่าตัดหัวใจการตรวจสอบห้องพักผู้ป่วยว่าว่างหรือไม่
การ
ควบคุมแสงเลเซอร์การเอ็กซ์เรย์
การตรวจคลื่อนสมองคลื่นหัวใจ เป็นต้น
วิทยาศาสตร์การค้นคว้าทดลองในห้องวิทยาศาสตร์
การคำนวณเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาลและการเกิดปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆ 4ความสำคํญของคอมพิวเตอร์
1. ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการบันทึกข้อมูล
ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์
การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ
ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้
และเมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้ว
ข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ 2.
การทำงานด้วยความเร็วสูง เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกดังนั้นการดำเนินงานต่างๆ
จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที)
3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (accuracy
and reliability)คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้
ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้
4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (storage)
คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกเข้าไป
ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านตัน
5.
การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (communication)
คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ
และสามารถทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบระบบเดี่ยว ตัวอย่างเช่น
การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น
(remote computer)
5ผลกระทบของเทคโนโลยี ด้านบวก
1.ช่วยส่งเสริมงานค้นคว้าด้านเทคโนโลยี
2.ช่วยส่งเสริมด้านความสดวกสบายของมนุษย์
3.ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์
4.ช่วยส่งเสริมสุขภาพ
5.ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย
6.ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจรุ่งเรือง
ด้านลบ
1.เกิดความวิตกกังวล
2.ทำให้เกิดการเสี่ยงทางด้านธุรกิจ
3.ทำให้เกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4.
.ทำให้มนุษย์สัมพันธ์เสื่อมถอย
5.ทำให้เกิดอาวุธร้ายแรงชนิดใหม่ๆ
6.ทำให้เสียสุขภาพ
6ความหมายของสารสนเทศปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา
นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ
แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ
วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ"
ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ
เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ
สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล
เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา
และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี
การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น
อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้
ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม
กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง
นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ
การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการ
จัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกันอย่างมีระบบ
ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง
นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อหา
7ประเภทของข้อมูล 1. ข้อมูลตัวอักษร
2. . ข้อมูลที่เป็นเลข
3.ข้อมูลภาพ
4.ข้อมูลเสียง
8วิธีประมวลข้อมูล
1. การประมวลผลแบบกลุ่ม
ข้อมูลของการประมวลผลแบบนี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในช่วงเวลาที่กำหนด
เช่น 7
วัน หรือ 1
เดือน
แล้วจึงนำข้อมูลที่สะสมไว้มาประมวลผลรวมกันครั้งเดียว เช่น
การคำนวณค่าบริการ
น้ำประปา
โดยข้อมูลปริมาณน้ำที่ใช้ทั้งหมดจะถูกเก็บบันทึกไว้ในรอบ 1
เดือน แล้วจึงนำมาประมวลผลเป็น
ค่าน้ำประปาในครั้งเดียว การประมวลผลแบบนี้มักมีความผิดพลาดสูง แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลน้อย
2.
การประมวลผลแบบทันที
เป็นการประมวลผลที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรับข้อมูลหรือหลังจากได้รับข้อมูลทันที เช่นการฝากและถอนเงินธนาคาร เมื่อลูกค้าฝากเงิน ข้อมูลนั้นจะถูกประมวลผลทันที ทำให้ยอดฝากในบัญชีนั้นมีการเปลี่ยนแปลง การประมวลผลแบบนี้จะมีความผิดพลาดน้อย แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผล
9การจัดการสารสนเทศ 1.
การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล 2. การประมวลผลข้อมูล 3. การดูแลรักษาข้อมูล
10ระดับของการเกี่ยวข้องของสารสนเทศ
1. สารสนเทศระดับบุคคล คือ
สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน ทำให้ทำงานในหน้าที่
ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ซึ่งสารสนเทศที่ใช้จะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงาน
และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล เช่นพนักงานขายใช้สารสนเทศในการนำเสนอสินค้าให้ดูน่าสนใจ และ
นักเรียนใช้สารสนเทศทำรายงานที่สะอาดและเรียบร้อย
2. สารสนเทศระดับกลุ่ม คือ
สารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีจุดมุ่งหมาย
ในการทำงานอย่างเดียวกัน
ซึ่งส่งเสริมการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน สารสนเทศระดับกลุ่ม
จึงมีการใช้ระบบเครือข่ายมาร่วมในการทำงาน
จึงทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บไว้ใน
ระบบฐานข้อมูลร่วมกัน
ด้วยการสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บ
ข้อมูล เช่น พนักงานขายสามารถใช้ข้อมูลสิ้นค้าแบบเดียวกันได้ทุกคน และนักเรียนสามารถสั่งพิมพ์เอกสาร
ด้วยเครื่องพิมพ์เดียวกันจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
3. สารสนเทศระดับองค์กร คือ
สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในภาพรวมขององค์กร ซึ่งจะเกี่ยวข้อง
สัมพันธ์กันในหลายฝ่าย จึงมีการเชื่อมโยงสารสนเทศระดับกลุ่มหลาย ๆ
กลุ่มเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดประโยชน์ใน
การบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลจากฝ่ายใดก็ได้ เพื่อประโยชน์ใน
การตัดสินใจ
ระดับของผู้บริหาร
1. ผู้บริหารระดับล่าง
เป็นการใช้สารสนเทศในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น
ผู้จัดการใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับหัวหน้าแผนกต่าง
ๆ
และนักเรียนใช้สารสนเทศในการทำงานหรือในการเรียนในวิชาต่าง
ๆ
2.
ผู้บริหารระดับกลาง
เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะสั้น
เหมาะสำหรับงานประเภท
การควบคุมและจัดการ เช่น
ผู้จัดการนำสารสนเทศมาวางแผนการผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า และนักเรียนใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเลือกเรียนวิชาเลือกที่เหมาะสมกับนักเรียน
3. ผู้บริหารระดับสูง เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะยาว ใช้สำหรับควบคุมนโยบาย
และวางแผนเชิงกลยุทธ์
สารสนเทศที่ใช้จึงมักเป็นผลสรุปที่สามารถนำมาประกอบ การวิเคราะห์ การประเมิน
และการตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่นผู้จัดการนำผลสรุปค่าเฉลี่ยการผลิตสินค้ามาใช้ในการตัดสินใจซื้อ
เครื่องจักรใหม่ และนักเรียน
ใช้ผลสรุปคะแนนเรียนทั้งหมดมาตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ตามความสามารถ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
เว็บไซต์อ้างอิง
10.
flukeloveskb.blogspot.com/2012/06/1.htmi